วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การดูแลรักษาเครื่องเรื่อนที่ทำด้วยเครื่องเดลือบและดินเผา


เครื่องเรือนที่ทำจากดินเผาเครื่องเคลือบ




          เครื่องเคลือบดินเผา ที่ผลิตขึ้นมาเป็นเครื่องสุขภัณฑ์ ทำจากวัสดุต่างๆหลายชนิดนำมาผสมกัน
เเละเผาที่อุณหภูมิสูง ผิวเคลือบเป็นมันวาว การดูดซึมน้ำต่ำ ทำความสะอาดได้ง่าย เเละมีความทนถาวร
ตลอดอายุการใช้งาน อย่างไรก็ตามเครื่องสุขภัณฑ์ ไม่สามารถทนต่อเเรงกระเเทก หรือกระทบวัสดุเเข็ง
ได้ ผิวหน้าส่วนที่ถูกกระทบ อาจเเตกร้าวหรือมีรอยขูดขีดได้ง่าย

          ความสกปรกเเละตะกอนต่างๆ ที่ปะปนอยู่ในน้ำ จะก่อให้เกิดคราบสกปรก อยู่บนผิวเคลือบ
สุขภัณฑ์ โดยเฉพาะสุขภัณฑ์ที่มีสีเข้ม ดังนั้นการรักษาผิวหน้า ของผิวเคลือบสุขภัณฑ์ ควรล้างทำความ
สะอาดบ่อยๆ เเละสม่ำเสมอ โดยใช้ฟองน้ำกับสบู่ชนิดเหลว ทำความสะอาดให้ทั่ว เเล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
เช็ดให้เเห้ง โดยใช้ผ้านุ่มผิวละเอียดอ่อนเเละไม่เเห้งเกินไป



          หากปล่อยทิ้งเป็นเวลานาน เเล้วมาทำความสะอาดด้วยสบู่เหลว อาจจะไม่สามารถชะล้างรอย
คราบสกปรกที่เกิดขึ้นได้ เป็นเหตุให้อาจนำไปสู่การใช้ของมีคม หรือวัสดุที่มีผิวหยาบกระด้าง เเละน้ำยา

ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เเรง มากขึ้น ซึ่งอาจมีผลต่อการเกิดรอย ที่ผิวเคลือบสุขภัณฑ์ การเกิดรอยด่างที่

ชุดฝารองนั่ง หรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ทำความสะอาดได้ เครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องเคลือบดินเผา
เป็นวัสดุที่ผลิตมาจากดิน โดยเอาดินเหนียวมาผสมกับน้ำแล้วปั้นเป็นรูปร่างนำไปเข้าเตาเผา และเคลือบ

น้ำยา เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะเครื่องใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ถ้วย ชาม อ่าง มีราคา
ถูก


สิ่งที่ควรปฏิบัติในการใช้เครื่องปั้นดินเผาหรือเครื่องเคลือบ

          · การเลือกใช้เครื่องปั้นดินเผาที่เผาสุกเคาะแล้วมีเสียงดังกังวาน จะใช้งานได้ ทนทาน ไม่เปราะ
แตกง่าย

          · เลือกใช้เครื่องเคลือบดินเผาที่ไม่ตกแต่งสีและลวดลายมาก จะปลอดภัยจากสี และสารตะกั่วที่ใช้
ทำลวดลาย

          · การใช้ภาชนะบรรจุอาหาร ควรเลือกที่เคลือบสีขาว ไม่มีจุดหรือรอยเปื้อนซึ่งเกิดจากความ
สกปรกขณะที่เคลือบ หรือนำเข้าเตาเผา ควรเลือกชนิดที่ไม่มีรอยผิวราน เพราะจะทำให้เศษอาหาร น้ำ

ซึ่งเข้าไปในเนื้อภาชนะเกิดรอยเปื้อนที่ล้างไม่ออก หรืออาจเกิดเชื้อราทำให้อาหารที่ใส่ในภาชนะนั้นบูดเน่า

เร็ว

วิธีดูแลรักษา

          เครื่องเคลือบดินเผามักนำมาใช้บรรจุอาหาร การดูแลรักษาจึงควรพิถีพิถันเป็นพิเศษ ล้างให้

สะอาด แล้วคว่ำไว้ในที่คว่ำชาม นำออกไปผึ่งแดดให้แห้งทุกครั้งและหมั่นตรวจดูรอยแจก รอยร้าวที่

เกิดขึ้น ถ้าพบควรรีบคัดภาชนะนั้นออก ไม่นำมาใช้ต่อไป เพราะรอยร้าวทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสมอยู่

ทำให้บูดเน่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค


การเก็บรักษา

          เครื่องเคลือบดินเผามักนำมาใช้บรรจุอาหาร การดูแลรักษาจึงควรพิถีพิถันเป็นพิเศษ

ล้างให้สะอาด แล้วคว่ำไว้ในที่คว่ำชาม นำออกไปผึ่งแดดให้แห้งทุกครั้ง และหมั่นตรวจดูรอยแจก รอย

ร้าวที่เกิดขึ้น ถ้าพบควรรีบคัดภาชนะนั้นออก ไม่นำมาใช้ต่อไป เพราะรอยร้าวทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสม

อยู่ ทำให้บูดเน่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค








การดูแลรักษาเครื่องเรือนที่เป็นแก้ว




                             เครื่องเรือนที่เป็นแก้วหรือกระจก




                     



              เครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นแก้วหรือกระจก มีมากมายหลายชนิด เช่น แก้วน้ำ
รูปทรงต่าง ๆ จาน ชาม ถ้วย ถาด กระจกเงา โต๊ะกระจก แจกัน โคมไฟแขวนประดับ เป็นต้น ซึ่งอาจทำ

จากแก้วเรียบ ๆ ธรรมดา หรือมีการแกะสลัก เจียระไนระบายสีให้เกิดลวดลายที่งดงามก็ได้ เครื่องแก้ว

เหล่านี้มีคุณสมบัติที่ดี คือ ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ มีความเปราะบาง แตกหักง่าย
ดังนั้นจึงต้องรู้จักใช้และระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยร้าว เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน

เมื่อล้างเครื่องแก้วสะอาดดีแล้ว ควรเก็บใส่กล่อง ใช้กระดาษหรือเศษผ้าวางคั่นทีละใบกันกระแทก ถ้าเป็น
แก้วไม่ควรวางซ้อนกัน จะดึงออกยาก และทำให้แตกได้

                                                  เคล็ดลับการดูแลรักษาขวดแก้ว





แก้วทรงต่างๆทำความสะอาดอย่างไร


- รอยนิ้วที่ติดเป็นคราบมันเลอะตามถ้วยแก้วและแก้วทรงสูง ใช้เกลือป่นเช็ดออกจนสะอาดหมดจด

ตามเดิม ถ้าเป็นแก้วทรงสูงต้องต้องใช้แปรงล้างขวดแยงลงไปทำความสะอาด สมมติว่าไม่มี

แปรงล้างขวดให้ใช้เปลือกไข่ดิบ บีบให้แตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมน้ำใส่ลงไปในถ้วยแล้วเขย่าสักครู่ ถ้วยแก้ว

ก็จะสะอาดเอี่ยม

แก้วซ้อนกันแก้ได้นะ


- ถ้วยแก้ววางซ้อนกัน อาจดูดกันเอง ดึงไม่ออก ถ้าดึงแรงก็อาจจะร้าวและเสียของ ให้เอาถ้วยแก้วใบล่าง

แช่ในน้ำร้อน รินน้ำเย็นใส่ถ้วยใบบน แก้ว 2 ใบจะหลุดออกจากกันได้เอง


แก้วแตกเก็บเศษแก้วได้อย่างไร


- เมื่อทำแก้วแตก เศษแก้วชิ้นใหญ่ ๆ พอเก็บให้หมดได้ แต่ชิ้นเล็กละเอียดจะมองไม่เห็น ให้ใช้มันฝรั่งหรือ

หัวไชเท้าหั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ตบบนพื้นตรงที่มีเศษแก้วอยู่ เศษแก้วก็จะหมดไป หรือใช้กระดาษ

หนังสือพิมพ์ชุบน้ำพอหมาดไปปูบริเวณนั้น ค่อย ๆ กดให้ทั่ว เศษ


แก้วจะติดขึ้นมาหมด


- ถ้าแก้วแตกลงบนพื้น เวลาเก็บจะตำมือ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำ บิดให้แห้ง นำมาซับแล้วนำไปสลัดในถังขยะ ถู

หลาย ๆ ครั้งจนหมดเศษแก้ว

- เมื่อเศษแก้วแตกและคุณต้องการทิ้ง ควรจะรวมทิ้งในกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด เพราะถ้าใส่ถุงกระดาษ

เวลาทิ้งอาจจะบาดนิ้วพนักงานเวลาเก็บขยะได้ และไม่ควรใส่ในถุงพลาสติก ควรห่อด้วยกระดาษ

หนังสือพิมพ์หลาย ๆ ชั้นให้มิดชิดแล้วใส่ลงในถุงอีกที รัดปากถุงให้แน่นก่อนนำไปทิ้ง


แก้วไม่แตกถ้ารินน้ำร้อนถูกวิธี


- ถ้ารินน้ำที่กำลังเดือดลงในแก้ว แก้วจะแตกทันที ควรเทน้ำร้อนลงในแก้วเล็กน้อยแล้วเขย่าให้ความร้อน

กระจายทั่วเนื้อแก้ว แล้วจึงค่อยรินน้ำร้อนต่อไป หรือเวลารินให้ปลายกาสูง ๆ จะทำให้ไอความร้อน

ระเหยไป แก้วจะไม่แตก


ขวดแก้วบรรจุใส่ลังอย่างไร


- ขวดเป็นจำนวนมาก เมื่อจะวางขวดลงบรรจุในลังหลาย ๆ ใบ หาผ้าหรือกระดาษนิ่ม ๆ พับสอดไว้

ระหว่างขวดเหล่านั้น เพื่อไม่ให้กระทบกันและแตกร้าว ถ้าต้องเรียงขวดทับกันมาก ๆ ใช้วิธีเดียวกันนี้ แต่

พันรอบจุกขวดด้วยพลาสเตอร์หรือเทปกาว


ขวดแก้วสกปรกล้างอย่างไร


- ใช้ทรายหรือกรวดก้อนเล็ก ๆ ใส่ลงไปสักเล็กน้อย ในขวดแก้วที่หมองและขุ่น หรือมีตะไคร่ เติมน้ำและ

ผงซักฟอกแล้วเขย่าแรง ๆ สัก 2-3 นาที แล้วล้างให้สะอาดอีกทีด้วยน้ำเปล่า ขวดจะใสแจ๋ว


- เทน้ำส้มสายชูผสมน้ำร้อนลงในขวด ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งเช้านำมาเขย่าแล้วล้างอีกที


- ขวดที่หมองมาก ๆ ลองลอกเปลือกมะเขือเทศใส่ลงไปในขวด เติมน้ำให้เต็ม ปล่อยไว้จนเปลือกมะเขือ

เทศเริ่มเปื่อย แล้วเทออก ใช้น้ำล้างให้หมดจด ขวดจะดูใสสะอาด


ขวดเล็กขวดน้อยวางอย่างไรไม่ให้หกเปรอะเปื้อน


- ขวดเครื่องสำอางหรือขวดยาเมื่อวางเรียงกันในลิ้นชัก ใช้หนังสติ๊ก 1 เส้น กับหมุด 2 ตัวติดหมุดห่าง

จากกันเท่าความยาวลิ้นชัก วงด้วยหนังสติ๊กจากหมุดหนึ่งมายังอีกหมุดหนึ่ง วางขวดเรียงกันใน

ขอบเขตยางยืด เวลาดึงลิ้นชักขวดจะไม่ล้มหรือหก

ขวดแก้วเจียระไนให้แวววาว


- ถ้าแก้วเจียระไนของคุณดูขุ่นมัว มีวิธีขัดแก้วเจียระไนให้แวววาวโดยใช้แอมโมเนียผสมน้ำอุ่นน้อย ๆ ขัด


ถูและใช้โซดาไบคาร์บอเนตล้างอีกครั้ง


เครื่องแก้วใช้อย่างไรให้คงทน


- เมื่อซื้อหรือได้เครื่องแก้วมาใหม่ ๆ ก่อนใช้นำไปแช่ในน้ำเย็นแล้วยกขึ้นตั้งไฟ ต้มพอให้น้ำที่ใช้แช่น้ำเดือด

จึงนำเครื่องแก้วไปใช้ จะใช้ได้นานกว่าธรรมดา ไม่แตกร้าวง่าย


ทำความสะอาดแจกัน


- การล้างแจกันดอกไม้ แจกันชนิดเล็ก ๆ ที่เปื้อนข้างในแล้วล้างออกยาก ให้เอาเกลือกับน้ำส้มอย่างละ 1

ช้อนโต๊ะผสมกัน แช่ทิ้งไว้ในแจกันหลายชั่วโมง แล้วนำขวดนั้นมาเขย่าแรง ๆ เทน้ำเกลือน้ำส้มออกให้หมด

แล้วล้างน้ำเย็นอีกครั้งหนึ่ง

- การล้างแจกัน ขวดนม หรือภาชนะอื่นที่ทำความสะอาดลำบากเพราะมือแหย่ลงไปไม่ได้ ให้ใส่กากใบชา

เปียกและราดน้ำส้มสายชูลงไปเขย่าแรง ๆ จะทำให้สะอาดและกลิ่นเหม็นหายไปด้วย

- การขจัดคราบในแจกันที่คอขวดแคบจนไม่สามารถแหย่แปรงลงไปทำความสะอาดได้นั้น ให้ใช้น้ำยา

ฟอกขาวผสมน้ำเทลงไปทิ้งไว้ค้างคืน รอยคราบที่เปื้อนอยู่ภายในจะหายหมด










การดูแลรักษาเครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง


 

เครื่องเรือนที่ทำด้วยหนัง






 

        เครื่องเรือนที่ทำจากหนังมี 2 แบบ คือ แบบหนังเรียบธรรมดา และแบบหนังกลับ ใช้ทำชุดรับแขก
กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด มีวิธีดูแลรักษาตามชนิดของเครื่องหนัง ดังนี้

1. เครื่องหนังธรรมดา ให้ทำความสะอาดด้วยการใช้แปรงอ่อน ๆ ปัดฝุ่น หรือสิ่งสกปรกออกให้หมดก่อน
แล้วใช้เศษผ้า ฟองน้ำ หรือแปรงขัดหนัง ขัดให้ทั่ว ต่อจากนั้นให้เช็ดออกด้วยผ้านุ่ม ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่

2. หนังกลับ ทำความสะอาดด้วยการปัดฝุ่นละออง โดยใช้แปรงปัดฝุ่นให้ชนลู่ไปทางเดียวกันเพื่อให้สวยงาม
และระวังอย่าให้ถูกความชื้นและความร้อน เพราะจะทำให้เสียรูปทรง





การเก็บรักษา






เมื่อทำความสะอาดแล้วควรเก็บใส่กล่อง ถุงผ้า หรือเก็บไว้ในตู้

          สำหรับคนที่มีบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้า หรือแม้แต่ออฟฟิศ ล้วนแต่ต้องมีเฟอร์นิเจอร์มาอำนวนความ
สะดวกกันอยู่แล้ว ในบรรดาวัสดุที่นิยมนำมาใช้ประดับเฟอร์นิเจอร์และนำมาเป้นวัสดุรองนั่งมีหลายประเภท
แต่วันนี้ขอนำเสนอเฟอร์นิเจอร์ที่ทำมาจาก หนังหนังเป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง
ห้อง ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตู้ เตียง หรือเก้าอี้ต่างๆ โดยส่วนมากเรามักจะเห็นหนังถูกนำมาเป็นวัสดุบุเฟอร์นิเจอร์
เช่น เบาะหนังรองนั่ง เท้าแขนของเก้าอี้และโซฟา แต่เฟอร์นิเจอร์บางชิ้นก็นำหนังมาดัดแปลงเพื่อเพิ่มความ
แปลกใหม่และหรูหราให้มากขึ้น เช่น เตียงเดย์เบด โต๊ะ กล่อง ชั้นเก็บของต่างๆ ฯลฯ เฟอร์นิเจอร์หนังเป็นที่
นิยมใช้ในที่พักอาศัย รวมถึงยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่บอกฐานะและรสนิยมอันหรูหราได้เป็นอย่างดี ซึ่ง
เฟอร์นิเจอร์ประเภท "หนัง" เป็นวัสดุหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดด้วยลักษณะที่มีความนุ่มนวล สีสันที่สวยงามเป็น
ธรรมชาติดูมีราคา ไม่สะสมความร้อน และไม่อมฝุ่นละอองต่างๆ



ประเภทของ"หนัง" ที่นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ หนังแท้และหนังเทียม



          1.หนังแท้หรือหนังธรรมชาติ มีความโดดเด่นเรื่องความหรูหราดูสง่างามมีรสนิยมอย่างมาก หนังที่
ใช้มักมาจากทั้งหนังวัว หนังควาย หนังม้า ฯลฯ เฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งที่ทำจากหนังแท้จะมีราคาแพงแต่
ในความรู้สึกเมื่อสัมผัสที่ดีเป็นธรรมชาติ มีความนุ่มนวลในตัว และดูดีมีราคาในตัวเอง


          2.หนังสังเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่หนังธรรมชาติ แต่เกิดจากกรรมวิธีทางเคมีเพื่อทดแทนหนังธรรมชาติ โดย
ผลิตออกมาคล้ายกับหนังแท้ ซึ่งทุกวันนี้หนังสงเคราะห์มีการพิมม์สีและลายได้สวยเหมือนหนังแท้เลยทีเดียว
ยิ่งลักษณะภายนอกเหมือนหนังธรรมชาติมากเท่าไร ราคาก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเท่านั้น



          ดังนั้นหากคิดจะซื้อเฟอร์นิเจอร์หนังควรจะซื้อหนังแท้หรือหนังเทียมดี ซึ่งหลายๆคนคิดว่าควรจะซื้อ
หนังแท้เป็นหลัก แต่เรามาดูมาดูข้อเสียของหนังแท้และหนังสังเคราะห์กันก่อนที่จะติดสินใจซื้อกันก่อนดีกว่า



ข้อเสียของหนังแท้


แม้จะมีผิวที่สวยงามและนุ่มเป็นธรรมชาติกว่าหนังเทียม แต่ก็มีข้อเสียไม่น้อยเลย เช่น ราคาแพง ต้องหมั่น
ดูแลรักษาเช็ดและเคลือบเงาอยู่เสมอ เนื่องจากหนังแท้จะยังคงมีไขมันหลงเหลืออยู่ เมื่อไขมันระเหยสลายไปจะ
ทำให้หนังแข็งกระด้างและเกิดแตกลายงาได้



ข้อเสียของหนังสังเคราะห์

หนังเทียมนั้นจะมีความทนทานและรับน้ำหนักได้ไม่มากนัก ฉีกขาดง่ายกว่าหนังแท้ และรักษารูปทรงให้คงเดิม
ได้ยาก เรื่องความรู้สึกหรือผิวสัมผัสยังคงมีความแตกต่างจากหนังแท้อยู่พอสมควร



        สำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่ทำจากหนังแท้ต้องดูแลรักษามากกว่าหนังสังเคราะห์พอสมควร
ซึ่งอันที่จริงแล้วเฟอร์นิเจอร์และของใช้ทุกชนิดล้วนต้องการการดูแลรักษาด้วยกันทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นผ้า ไม้
เหล็ก หรือพลาสติก เพียงแต่ว่าวัสดุใดจะมีจุดอ่อนด้านไหน และต้องดูแลรักษาด้านไหนเป็นพิเศษ


การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์และของใช้ที่ทำจากหนัง








           1.ห้ามใช้สารเคมี เช่น น้ำมันสน น้ำยาขัดเงา และน้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรดต่างๆ เช็ดเด็ดขาด เพราะ
น้ำยาเหล่านี้จะทำลายผิวนอก ของหนังให้ซีดและแห้ง โดยเฉพาะหนังสังเคราะห์ที่แม้จะมีหน้าตาคล้ายหนังแท้
มากแค่ไหน แต่อย่าลืมว่าหนังสังเคราะห์นั้นก็คือพลาสติกชนิดหนึ่งนั้นเอง

           2.ถ้าเป็นหนังแท้ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดหนังแท้โดยเฉพาะ
          3.ไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์หนังไว้ใกล้ที่ร้อน ชื้นแฉะ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้อายุการใช้งานของหนังสั้น
ลงและทำให้เกิดเชื้อรา
           4.การทำความสะอาดโดยทั่วไปสามารถใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดได้








การถนอมอาหารโดยการดอง



การดอง





          การถนอมอาหารโดยการดองด้วยการใช้จุลินทรีย์บางชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดย

 จุลินทรีย์นั้นจะสร้างสารบางอย่างขึ้นมาในอาหาร ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัว

อื่นๆได้ ดังนั้นผลของการหมักดองจะทำให้อาหารปลอดภัยจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ และยังทำให้เกิด

อาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม เป็นการเพิ่มกลิ่น และรสชาติของอาหารให้แปลกออกไป


การถนอมอาหารโดยการดองมีหลายวิธีดังนี้

2.1 การดองเปรี้ยว ผักที่นิยมนำมาดอง เช่น ผักกาดเขียว กะหล่ำปลี ผักเสี้ยน ถั่วงอก เป็นต้น

ผัก ผลไม้ ปอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นตัด หรือแต่งเป็นชิ้นส่วนตามต้องการ

เนื้อสัตว์ และไข่ เช็ดหรือล้างให้สะอาด

          1.      การเตรียมส่วนผสม ทำได้หลายวิธีดังนี้

ผสมกับน้ำ เข้าด้วยกัน ต้มให้เดือด กรองแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำ เข้าด้วยกัน ต้มให้เดือด กรองแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ น้ำ และเครื่องเทศเข้าด้วยกัน ต้มให้เดือด กรองแล้วทิ้งไว้ให้เย็น

          2.      บรรจุอาหารในภาชนะที่แห้ง สะอาด และต้มฆ่าเชื้อแล้ว เทส่วนผสมให้ท่วมอาหาร ถ้าชิ้น

อาหารลอย ให้ใช้ถุงพลาสติกบรรจุน้ำรัดปากถุงให้แน่นแล้ววางทับชิ้นอาหารให้จมในส่วนผสมปิดฝาให้สนิท

          3.      ในกรณีที่นำผักที่มีน้ำมากๆ มาดองเปรี้ยว เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ทำได้โดย

การใช้เกลือคลุกเคล้ากับผักให้ทั่วเกลือจะช่วยดูดน้ำออกจากผัก น้ำจะผสมกับเกลือเป็นน้ำเกลือ ซึ่ง

น้ำเกลือจะมีความเข้มข้นประมาณ 5-8 % บรรจุผักในภาชนะให้แน่น 3-5 วัน จะเกิดกรดแลคติค

ทำให้ ผักมีรสเปรี้ยว

2.2 การดอง 3 รส คือรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ผักที่นิยมดองแบบนี้คือ ขิง กระเทียมสด ผักกาดเขียว

เป็นต้น  การดองชนิดนี้คือ นำเอาผักมาเคล้ากับเกลือแล้วผสมน้ำส้ม น้ำตาล เกลือ ต้มให้เดือดทิ้งไว้ให้

เย็นแล้วนำมาเทราดลงบนผักปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ก็นำมารับประทานได้

2.3 การดองหวาน ผักและผลไม้ที่นิยมนำมาดอง เช่น มะละกอ หัวผักกาด กะหล่ำปลี เป็นต้น

โดยต้มน้ำตาล น้ำส้มสายชู เกลือ ให้ออกรสหวานนำให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น เทราดลงบนผักผลไม้ ทิ้งไว้ 2-
  
 3 วัน ก็นำมารับประทานได้

2.4 การดองเค็ม อาหารที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นพวกเนื้อสัตว์และผัก เช่น ปูเค็ม ปลาเค็ม กะปิ หัว

ผักกาด ไข่เค็ม เป็นต้น ต้มน้ำส้มสายชูและเกลือให้ออกรสเค็มจัดเล็กน้อยให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น กรองใส่

ภาชนะที่จะบรรจุอาหารดอง แล้วหมักทิ้งไว้ 4-9 เดือนจึงนำมารับประทาน

2.5 การหมักดอง  ที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ คือการหมักอาหารพวกแป้ง น้ำตาล โดยใช้ยีสต์เป็น

ตัวช่วยให้เกิดแอลกอฮอล์ เช่น ข้าวหมาก ไวน์ เป็นต้น


 การเก็บรักษา

            อาหารดอง ควรเก็บรักษาในที่สะอาด แห้ง และเย็น อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรวางในที่ร้อน

ชื้น และแสงแดดส่องถึง







ประโยชน์ของการดอง

        1. ทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น เช่น ไข่เค็ม

        2. ทำให้อาหารมีสี กลิ่น และรสต่างออกไป เช่น ผักกาดดอง

        3. ทำให้อาหารที่ใช้บริโภคไม่ได้ ให้สามารถบริโภคได้ เช่น มะม่วงอ่อนดอง

        4. ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ เช่น น้ำส้มสายชู

        5. เสริมคุณค่าทางอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ซึ่งให้โปรตีนสูงกว่าถั่วสุกธรรมดา





การถนอมอาหารโดยการเชื่อม


การเชื่อม  


             เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในอาหารให้สูงขึ้น โดยใช้ความร้อนทำให้อาหารสุก และน้ำตาลซึมผ่านเข้าไปในเนื้ออาหาร อาหารจะไม่เหี่ยวย่น และเก็บไว้ได้นาน น้ำตาลเป็นสารถนอมที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์




ผักผลไม่ที่นิยมนำมาเชื่อม

1. ผัก เช่น ฟักทอง เผือก มันเทศ มะเขือเทศ รากบัว ฟัก มันสำปะหลัง

2. ผลไม้ เช่น สาเก มะยม กระเจี๊ยบ มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย และเปลือกของผลไม้บางชนิด เช่น 

เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม


         

      การถนอมอาหารด้วยการเชื่อม เป็นการนำผลไม้ไปต้มลงในน้ำเชื่อมจนผลไม้มีลักษณะนุ่ม เป็น

ประกาย ซึ่งเป็นการใช้น้ำตาลมาช่วยในการถนอมอาหาร มีลักษณะการใช้น้ำตาลเช่นเดียวกับวิธีการแช่อิ่ม 

การเชื่อมนิยมทำ เมื่อจะเก็บผลไม้บรรจุขวดหรือกระป๋อง น้ำเชื่อมที่ใช้อัตราส่วน ดังนี้     

          -  น้ำเชื่อมใส   น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 3 ถ้วย

          -  น้ำเชื่อมปานกลาง  น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 2 ถ้วย

          -  น้ำเชื่อมเข้มข้น  น้ำตาล 1 ถ้วย ต่อน้ำ 1 ถ้วย

การบรรจุและการเก็บรักษา

          -  บรรจุในกล่องที่มีฝาปิด

          -  บรรจุในขวดหรือในกระป๋อง

ประโยชน์ของผักและผลไม้

         1. ช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน

         2. ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้แปลกได้